1. Proxy Server คืออะไร
Proxy Server คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการต่างๆ แทนเครื่องเซิร์ฟเวอร์จริงๆ ที่ตั้งอยู่ในอินเตอร์เน็ต ซึ่งหน้าที่สำหรับเก็บข้อมูลที่ผู้ใช้บริการได้เรียกข้อมูลมาจากอินเตอร์เน็ต โดยผ่านทาง web browser ทำให้ผู้ใช้บริการรายต่อไปที่ต้องการค้นหาข้อมูลเดิมซ้ำกับที่มีผู้อื่นเรียกใช้บริก ารไว้ สามารถที่จะเรียกดูข้อมูลจากเครื่องแม่ข่าย Proxy Server ได้โดยตรง โดยไม่ต้องออกไปค้นหาข้อมูลจากข้างนอก จาก Web server --mlinkarticle--} อีก ซึ่งจะทำให้ลดปริมาณ ของ data-stream ลงไป
ขั้นตอนการทำงานของ Proxy Server นั้นเริ่มขึ้นเมื่อผู้ใช้ติดต่อ web sever ผ่าน Proxy Server เครื่องจะทำการตรวจสอบก่อนว่ามีข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการอยู่ในเครื่องอยู่แล้วหรือไม่ ถ้ายังไม่มีก็จะไปเรียกข้อมูลมาให้ใหม่ และจัดเก็บไว้ในเครื่องเพื่อคอยให้บริการแก่ผู้ใช้ครั้งต่อไป ถ้าพบว่ามี จะทำการตรวจสอบว่าข้อมูลที่มีอยู่กับแหล่งข้อมูลที่ต้องการ ว่ามีความทันสมัยตรงกันหรือไม่ ถ้าตรงกันจะทำการส่งข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่องไปให้ผู้ใช้ทันที แต่ถ้าไม่ตรงกัน Proxy จะไปดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลมาให้ใหม่ ซึ่งการทำงานในลักษณะนี้คล้ายกับการทำงานของ {--mlinkarticle=2047--} Cache ในคอมพิวเตอร์ นั่นคือเป็นทางผ่านก่อนเชื่อมต่อออก network จริง โดยเวลาเข้าเว็บเพจจากเครื่อง client ที่เชื่อมผ่าน proxy จะทำให้โหลดได้รวดเร็วกว่าปกติ ถ้าเว็บนั้นเคยเข้ามาก่อนแล้ว เพราะข้อมูลที่เคยเข้าถูกเก็บไว้ใน proxy server
ตัวอย่างโปรแกรม Proxy เช่น โปรแกรม Proxy caching server ที่อยู่ในระบบปฏิบัติการ Linux , Proxy Vampire, WinProxy เป็นต้น
2. Firewall
Firewall คือซอพท์แวร์หรือฮาดร์แวร์ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อควบคุมการเข้าออกของโปรแกรมต่างๆ โดยจะทำหน้าที่ในการอ่านข้อมูลที่ผ่านเข้ามาในเครื่องทั้งขาเข้าและขาออก โดยจะนำข้อมูลเข้าไปเทียบเทียบกับกฎที่ได้ตั้งเอาไว้เพื่อตัดสินใจที่จะอนุญาตหรือปฏิเสธ จากหลักการที่กล่าวมาข้างต้นเราสามารถสรุปได้ว่าไฟร์วอลล์เป็นเครื่องมือที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้ปกป้องระบบเครือข่ายหรือเครื่องคอมพิวเตอร์จากการสื่อสารที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือผู้บุกรุก โดยใช้การกำหนดกฎเกณฑ์ควบคุมการเข้า-ออกนั้นเอง
เปรียบเทียบให้เข้าใจอย่างง่ายคือหากเครื่องคอมคือบ้านของเรา ไฟร์วอลล์ก็เปรียบเสมือนกับกำแพงที่จะป้องกันภัยอันตรายต่างๆที่อาจเกิดขั้นกับตัวบ้านไม่ว่าจะเป็นการ ลักทรัพย์, การทำร้านเจ้าของบ้าน เป็นต้น
3. Digital Signatures
Digital signature (การลงนามดิจิตอล) เป็นการลงนามอิเลคทรอนิคส์ที่สามารถใช้ในการรับรองเอกลักษณ์ของผู้ส่งข่าว สารหรือผู้ลงนามเอกสาร และความเป็นไปได้ในการทำความมั่นใจว่าเนื้อหาดั้งเดิมของข่าวสารหรือเอกสาร ที่ได้รับการส่งไม่มีการเปลี่ยนแปลง การลงนามดิจิตอลสามารถส่งได้ง่าย ไม่สามารถเลียนแบบโดยบางคน และสามารถประทับตราเวลาอย่างทันที ความสามารถทำให้มั่นใจที่ข่าวสารลงนามดั้งเดิมมาถึงหมายความว่าผู้ส่งไม่ สามารถปฏิเสธอย่างง่ายดายต่อมา
การลงนามดิจิตอลสามารถได้รับการใช้กับข่าวสารชนิดต่างๆ ไม่ว่ามีการ encrypt หรือไม่ อย่างง่ายที่ผู้รับสามารถมั่นใจถึงเอกลักษณ์ของผู้ส่งและข่าวสารไม่เสียหาย การรับรองดิจิตอลเก็บการลงนามดิจิตอลของผู้มีอำนาจเสนอการรับรอง ดังนั้นทุกคนสามารถตรวจสอบว่าการรับรองเป็นของจริง
การลงนามดิจิตอลสามารถได้รับการใช้กับข่าวสารชนิดต่างๆ ไม่ว่ามีการ encrypt หรือไม่ อย่างง่ายที่ผู้รับสามารถมั่นใจถึงเอกลักษณ์ของผู้ส่งและข่าวสารไม่เสียหาย การรับรองดิจิตอลเก็บการลงนามดิจิตอลของผู้มีอำนาจเสนอการรับรอง ดังนั้นทุกคนสามารถตรวจสอบว่าการรับรองเป็นของจริง
Digital Signature เป็นสิ่งที่แสดงยืนยันตัวบุคคล
(เจ้าของ email) และ email (ข้อความใน email) ว่า email นั้นได้ถูกส่งมาจากผู้ส่ง คนนั้นจริงๆ และข้อความไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงและแก้ไข ในการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายนั้น นอกจากจะทำให้ข้อมูลที่ส่งนั้นเป็นความลับสำหรับผู้ไม่มีสิทธิ์โดยการใช้เทคโนโลยีการรหัสแล้ว สำหรับการทำนิติกรรมสัญญาโดยทั่วไป ลายมือชื่อจะเป็นสิ่งที่ใช้ในการระบุตัวบุคคล (Authentication)
และยังแสดงถึงเจตนาในการยอมรับ เนื้อหาในสัญญานั้นๆซึ่งเชื่อมโยงถึง
การป้องกันการปฏิเสธความรับผิดชอบ (Non-Repudiation) สำหรับในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์นั้นจะใช้
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature) ซึ่งมีรูปแบบต่างๆเช่น
สิ่งที่ระบุตัวบุคคลทางชีวภาพ (ลายพิมพ์นิ้วมือ เสียง ม่านตา เป็นต้น) หรือจะเป็นสิ่งที่มอบให้แก่บุคคลนั้นๆในรูปแบบของ รหัสประจำตัว ตัวอย่างที่สำคัญของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
ที่ได้รับการยอมรับกันมากที่สุดอันหนึ่ง คือ ลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ซึ่งจะเป็นองค์ประกอบหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานกุญแจสาธารณะ (Public Key Infrastructure, PKI)
4. URL
Uniform Resource Locator (URL) เป็นการระบุตำแหน่งของไฟล์ที่เข้าถึงได้บนอินเตอร์เน็ต ประเภทของทรัพยากรขึ้นกับโปรโตคอลประยุกต์บนอินเตอร์เน็ตที่ใช้ การใช้โปรโตคอลของ World Wide Web หรือ Hypertext Tranfer Protocol ทรัพยากรคือเพจ HTML, ภาพ, โปรแกรมอินเตอร์เฟซ เช่น Java applet หรือไฟล์ที่ HTTP โดย URL จะเก็บชื่อของโปรโตคอลที่ต้องการ เพื่อเข้าถึงทรัพยากร ซึ่ง Domain name เป็นการระบุคอมพิวเตอร์บนอินเตอร์เน็ต และการอธิบายลำดับชั้นของตำแหน่งไฟล์ในคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างของ URL http://www.bot.or.th/table เป็นการอธิบายว่าเว็บเพจที่ต้องการเข้าถึงด้วยการประยุกต์ HTTP อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ชื่อ www.bot.or.th และไฟล์ที่ต้องการอยู่ในไดเรคทอรี่ชี่อ table และเพจที่เป็น default page ของ ไดเรคทอรี่
HTTP URL สามารถนำไฟล์อื่นนอกจากเว็บเพจได้ เช่น ไฟล์ gif http://www.yahoo.com/yahoologo1.gif
การใช้ URL กับโปรแกรม เช่น common gateway interface ที่เขียนแบบสคริปต์ด้วยภาษา PERL (Practical Extraction and Reporting Language) http://www.abc.com/docs/fn1.pl
5. BRIDGE
BRIDGE เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายของเครือข่ายที่แยกจากกัน แต่เดิมบริดจ์ได้รับการออกแบบมาให้ใช้กับเครือข่ายประเภทเดียวกัน เช่น ใช้เชื่อมโยงระหว่างอีเทอร์เน็ตกับ อีเทอร์เน็ต (Ethernet) บริดจ์มีใช้มานานแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ.1980บริดจ์จึงเป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างสองเครือข่ายการติดต่อภายในเครือข่ายเดียวกันมีลักษณะการส่ง ข้อมูลแบบกระจาย(Broadcasting)ดังนั้นจึงกระจายได้เฉพาะเครือข่ายเดียวกันเท่านั้นการรับส่งภายในเครือข่ายมีข้อกำหนดให้แพ็กเก็ตที่ส่งกระจายไปยังตัวรับได้ทุกตัว แต่ถ้ามีการส่งมาที่แอดเดรสต่างเครือข่ายบริดจ์จะนำข้อมูลเฉพาะแพ็กเก็ตนั้นส่งให้บริดจ์จึงเป็นเสมือนตัวแบ่งแยกข้อมูลระหว่างเครือข่ายให้มีการสื่อสารภายในเครือข่าย ของตน ไม่ปะปนไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง เพื่อลดปัญหาปริมาณข้อมูลกระจายในสายสื่อสารมากเกินไป ในระยะหลังมีผู้พัฒนาบริดจ์ให้เชื่อมโยงเครือข่ายต่างชนิดกันได้ เช่น อีเทอร์เน็ตกับโทเก็นริง เป็นต้น หากมีการเชื่อมต่อเครือข่ายมากกว่าสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน และเครือข่ายที่เชื่อมมีลักษณะหลากหลาย ซึ่งเป็นทั้งเครือข่ายแบบ LAN และ WAN อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเชื่อมโยงคือ เราเตอร์ (Router)
บริดจ์ เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segments)เข้าด้วยกันทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LANออกไปได้เรื่อยๆโดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบไม่ลดลงมากนักเนื่องจากการติดต่อของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกันจะไม่ถูกส่งผ่านไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่น และเนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Data Link Layerจึงทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันในระดับ Physical และ Data Link ได้ เช่น ระหว่าง Eternet กับ Token Ring เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น